วันจันทร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2555

คุณธรรมและจริยธรรม

คุณธรรมและจริยธรรม
     
        ปัจจุบันมักจะได้ยินคำกล่าวกันเสมอๆ ถึงเรื่องคุณธรรมและจริยธรรม ดังนั้น จึงขอนำเสนอบทความเกี่ยวกับคุณธรรมและจริยธรรมให้กับสมาชิกทั้งหลายได้รับทราบเพื่อพิจารณา และหากนำไปประพฤติปฏิบัติตามที่น่าจะเกิดประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อย

        คำว่า คุณธรรม ตามความหมายในพจนานุกรม หมายถึง สภาพของคุณงามความดี ส่วนคำว่า จริยธรรม ตามความหมายแยกออกเป็น 2 คำคือ จริย หมายถึง การประพฤติปฏิบัติ และ ธรรม หมายถึง คุณความดี ความจริง ความถูกต้อง,กฎ,กฎเกณฑ์,กฎหมาย หลักคำสอนในศาสนาหากจะสรุปรวมทั้งคุณธรรม และจริยธรรม ตามความเข้าใจของผู้เรียบเรียงคงหมายถึง การประพฤติปฏิบัติตนให้ตั้งมั่นอยู่ในความดี ทั้งกาย วาจา และใจ ดังนั้นเมื่อมีการกล่าวถึงคำว่าคุณธรรมก็มักจะกล่าวถึงคำว่าจริยธรรมรวมกันไปด้วย

แหล่งที่มา

"คุณธรรมและจริยธรรม ในมุมมองของปรัชญา"

ความนำ
          - สัตว์โลกทุกตัวตนอยากมีความสุขพ้นทุกข์ นี่คือสัจธรรมของชีวิต
          - สัตว์โลกที่ฉลาดจึงพยายามเรียนรู้สัจธรรมดังกล่าว
          - การศึกษาจึงมุ่งให้ผู้เรียน เก่ง ดี มีสุขแท้
          - สุขเทียมเป็นความสุขชั่วแล่น ตามด้วยทุกข์ จึงไม่เก่ง ไม่ดี
          - เก่ง คือ สามารถทำการสำเร็จอย่างบกพร่องน้อยที่สุด และใช้เวลาน้อยที่สุด
          - เก่ง และไม่ดี มีความสำเร็จอย่างไร้คุณธรรม สร้างความเดือดร้อน
          - เก่งและดี มีความสำเร็จอย่างมีคุณธรรม สร้างความสงบสุข



คุณธรรม จริยธรรม สำหรับข้าราชการ





              คุณธรรม จริยธรรม สำหรับข้าราชการ คือ การใช้หลักธรรมปฏิบัติในการบริหารงานทุกระดับ ตั้งแต่ ระดับปฏิบัติการ และผู้บริหารระดับต้น ระดับกลาง หรือระดับสูง ให้ได้ผลดี มีประสิทธิภาพสูง โดยการปกครองและบริหารที่ดี (Good Governance)

             การปกครองและบริหารที่ดี ตามหลักธรรมปฏิบัตินั้น ผู้บริหารงานต้องมี “ประมุขศิลป์” คือ คุณลักษณะความเป็นผู้นำที่ดี (Good Leadership) อันเป็นคุณสมบัติที่ดี ที่สำคัญ ของหัวหน้าฝ่ายบริหาร ลงมาถึงหัวหน้างานทุกระดับให้สามารถปกครอง และบริหารองค์กรที่ตนรับผิดชอบ ให้ดำเนินไปถึงความ สำเร็จอย่างได้ผลดี มีประสิทธิภาพสูง และให้ถึงความเจริญ รุ่งเรือง และสันติสุข อย่างมั่นคง